ทฤษฎีปิรามิตแห่งความรู้ของYamazaki
Hideo
yamazali นักวิชาการชาวญี่ปุ่น
ได้อธิบายนิยามของความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของปิรามิดแห่งความรู้ หรือระดับความรู้
ว่าความรู้จะมีอยู่ 4 ประเภท
1. ข้อมูล (Data)
คือ
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุการณ์
หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งยังเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลใด
เช่น ตัวเลขตัวหนังสือ ข้อเท็จจริง
รูปภาพที่สื่อความหมาย ได้แก่ จำนวนนักศึกษาจำนวนคะแนนนักศึกษาแต่ละคน
จำนวนรายวิชาที่เรียน
2. สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว
การประมวลผลเป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ
ได้แก่
- การทำให้รู้ว่าเก็บข้อมูลไว้อย่างไร
เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
- การทำให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อได้รู้องค์ประกอบย่อยๆ
ของข้อมูล
- การทำให้สามารถคำนวณ
วิเคราะห์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์หรือสถิติ
- การทำให้ถูกต้องหลีกเลี่ยงความผิดพลาดของข้อมูล
- การเรียบเรียงทำให้มีความชัดเจน
ดูเป็นระเบียบ ง่ายต่อการศึกษาและนำไปใช้ต่อ
3. ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ มีหลายนัยและหลายมิติ
(ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์พานิช, 2548, หน้า 5-6) คือ
- ความรู้ คือสิ่งที่น
าไปใช้จะไม่หมด หรือสึกหรอ แต่จะยิ่งงอกเงย หรืองอกงามขึ้น
- ความรู้คือสารสนเทศที่จะน
าไปสู่การปฏิบัติ
- ความรู้เกิดขึ้น ณ
จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้น
- ความรู้เป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบทและกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยความต้องการ
4. ภูมิปัญญา (wisdom)
ภูมิปัญญา เป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน
นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงานให้เกิดประโยชน์บางครั้งเรียกว่า
ปัญญาปฏิบัติจากภูมิปัญญาได้มีการยกระดับให้กลายเป็น นวัตกรรม (Innovation) หรือนวัตกรรมแห่งความสำเร็จ เช่น
จากการที่ได้รู้ผลการเรียนของนักศึกษาวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ได้ผลการเรียน
E ซึ่งอาจมีผล
เกรดเฉลี่ยต่ำ องค์ความรู้นี้ทำให้เกิดปัญญา หรือปัญญาปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเรียนวิชาวิเคราะห์และออกแบบระบบ เกิดเป็นนวัตกรรม เช่นสร้างงานวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยโครงงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น